ยูเครน งัดหลักฐานสกัดขีปนาวุธ “คินซาล” สำเร็จ
การรวมตัวกันของพันธมิตรยูเครนครั้งนี้ เกิดขึ้นในขณะที่รัสเซียโจมตีเมืองหลวงของยูเครนอย่างหนักเมื่อช่วงเช้ามืดของวันอังคารที่ผ่านมา โดยการโจมตีครั้งนี้รัสเซียนำขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงรุ่นคินซาล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในอาวุธไม้ตายออกมาใช้
อย่างไรก็ตาม ทางยูเครนได้ออกมาประกาศว่าสามารถใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศแพทริออตที่ได้รับจากสหรัฐฯ สกัดขีปนาวุธคินซาลของรัสเซียได้ทั้งหมด
"ยูเครน" เผยภาพการโจมตีเครื่องยิงระเบิดต้องห้ามของรัสเซีย
ทั่วโลกใช้จ่ายทางทหารเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ภาพของเหตุการณ์ขณะที่ระบบป้องกันภัยทางอากาศของยูเครนกำลังสกัดขีปนาวุธของรัสเซียที่กำลังจะเข้าโจมตีกรุงเคียฟ จนเกิดเป็นลำแสงสว่างหลายลูกเหนือน่านฟ้าของเมืองหลวงยูเครนในเวลาค่ำคืน
การระดมโจมตีกรุงเคียฟของรัสเซียที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงเช้าตรู่ของวันอังคาร ถือว่าหนักที่สุดในรอบปี เนื่องจากเป็นการโจมตีด้วยขีปนาวุธจากหลากหลายทิศทาง ทั้งทางอากาศ ทางทะเล และภาคพื้นดิน รวมแล้วกว่า 16 ลูก ขีปนาวุธที่ยิงจากจากทางอากาศคือ ขีปนาวุธรุ่นคินซาล Kh-47M2 โดยยิงมาจากเครื่องบินรบ ส่วนทางทะเล รัสเซียยังยิงขีปนาวุธจากเรือในทะเลดำ
ขณะที่ทางภาคพื้นดิน รัสเซียยิงขีปนาวุธ S-400 จากระบบยิงขีปนาวุธภาคพื้นดินรุ่นอิสคันเดอร์เอ็ม ทางฝั่งยูเครนก็ตั้งรับด้วยการใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ได้จากชาติตะวันตกยิงเข้าสกัด ส่งผลให้ท้องฟ้าของกรุงเคียฟแดงฉานไปด้วยแสงสว่างของขีปนาวุธที่เข้าปะทะกัน
ในบรรดาขีปนาวุธทั้งหมดที่รัสเซียใช้โจมตียูเครน มีขีปนาวุธประเภทหนึ่งที่หลายฝ่ายให้ความสนใจมากที่สุดคือ คินซาล ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในอาวุธไม้ตายของรัสเซีย
ขีปนาวุธคินซาลหรือที่รู้จักกันในชื่อ “Dagger” หรือ “กริซ” ถูกนำมาเปิดตัวและเข้าประจำการในกองทัพรัสเซียเมื่อปี 2018
คินซาลเป็นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงที่ติดตั้งหัวรบนิวเคลียร์ได้ สามารถบินหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วกว่าเสียงถึง 5 เท่าหรือ 5 มัค คิดเป็นความเร็วอยู่ที่ประมาณ 6,172 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และความเร็วสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกหนึ่งเท่าตัวหรือราว 10 มัค
นอกจากความเร็วแล้ว อีกหนึ่งไม้ตายสำคัญของขีปนาวุธคินซาลคือ สามารถหลบหลีกเรดาร์ขณะบินเข้าไปหาเป้าหมาย ทำให้ยากต่อการตรวจจับ โดยก่อนหน้านั้นรัสเซียระบุว่า ไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศชนิดใดๆในโลกที่จะสามารถหยุดยั้งคินซาลได้
อย่างไรก็ตาม หากดูจากภาพที่เกิดขึ้นและบทสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่ทางการยูเครน ตอนนี้มีสิ่งที่สามารถหยุดยั้งขีปนาวุธคินซาลของรัสเซียได้แล้ว คือ แพทริออต ระบบป้องกันภัยทางอากาศสัญชาติสหรัฐฯ
โอเล็กซี เรซนิคอฟ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมยูเครนระบุผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัวว่า ขีปนาวุธที่รัสเซียยิงเข้ามามีถึง 16 ลูก โดยในจำนวนนั้น มี 6 ลูกเป็นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงคินซาล แต่ทั้งหมดถูกทำลายโดยระบบป้องกันภัยทางอากาศ และนี่ถือเป็นความสำเร็จอันน่าเหลือเชื่อ
ขณะที่โวโลดิมีร์ เซเลนสกี ประธานาธิบดียูเครน ก็ได้ออกมาแถลงว่า การสกัดขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงรุ่นคินซาลของรัสเซีย เกิดจากการทำงานอย่างหนักของยูเครนเพื่อโน้มน้าวให้ชาติพันธมิตรส่งระบบป้องกันภัยทางอากาศที่ดีที่สุดอย่างแพทริออตมาเพื่อให้ยูเครนได้ใช้ในการปกป้องน่านฟ้าของตนเอง
นี่เป็นครั้งแรกที่ยูเครนอ้างว่าสามารถสกัดขีปนาวุธเหนือเสียงของรัสเซีย อย่างคินซาลได้ และถ้าสิ่งที่ยูเครนอ้างเป็นเรื่องจริงจะหมายความว่า ระบบป้องกันภัยทางอากาศแพทริออตที่สหรัฐฯ ส่งมาให้กับยูเครน มีประสิทธิภาพมากเพียงพอที่จะรับมือกับการโจมตีทางอากาศทุกรูปแบบ
นอกจากคำกล่าวอ้างแล้ว ทางการยูเครนยังได้เปิดเผยหลักฐานเพื่อยืนยันว่าสามารถยิงสกัดขีปนาวุธชนิดความเร็วเหนือเสียงของรัสเซียได้จริง
ภาพเศษซากของขีปนาวุธรุ่นคินซาล Kh-47 ลูกแรก ที่ทางการยูเครนใช้ระบบป้องกันภัยทางอากาศยิงจนร่วงลงมาจากท้องฟ้าชานกรุงเคียฟ
ในช่วงกลางคืนของวันอาทิตย์ที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมา แอนดรี คุลชิตสกี ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการทางนิติวิทยาศาสตร์ทางการทหารยูเครนยืนยันว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดต่างๆ เศษซากของขีปนาวุธที่ถูกยิงสกัดเป็นขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงรุ่นคินซาลจริง
ระบบแพทริออต คืออะไร? เหตุใดจึงอาจสามารถยิงสกัดขีปนาวุธที่รัสเซียอ้างว่าจะไม่มีใครยิงตกได้สำเร็จ?
แพทริออตเป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศสัญชาติสหรัฐฯ เปิดตัวใช้งานตั้งแต่ทศวรรษ 1980 และปัจจุบันระบบแพทริออตนี้ก็ยังคงเป็นหนึ่งในระบบป้องกันภัยทางอากาศที่มีความก้าวหน้าที่สุดชนิดหนึ่งในโลก
แพทริออตมีพิสัยโจมตีเป้าหมายระหว่าง 40-160 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับชนิดของขีปนาวุธที่ใช้ และมีระบบ "ป้องกันภัยเฉพาะจุด" (point defence) ที่ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันพื้นที่ในตำแหน่งเฉพาะเจาะจง เช่น เขตเมือง หรือระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญหรือมีมูลค่าสูง
สหรัฐฯ ได้ส่งมอบแพทริออตให้กับยูเครนหลังจากที่ประธานาธิบดีเซเลนสกีไปเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว
ในช่วงนั้นรัสเซียออกมาแสดงความไม่พอในอย่างหนัก โดยระบุว่า การที่สหรัฐฯ ให้แพทริออตแก่ยูเครนเป็นการกระทำที่ยั่วยุ
ในช่วงนั้น วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซียระบุว่า ระบบขีปนาวุธแพทริออตเป็นอาวุธที่เก่ามากแล้ว และทำงานได้ไม่ดีเหมือนกับระบบต่อต้านอากาศยานรุ่น S-300 ของรัสเซีย พร้อมทั้งแสดงความมั่นใจว่า รัสเซียจะหาวิธีแก้เกมการใช้งานแพทริออตของฝ่ายยูเครนได้
ทันทีที่ยูเครนออกมาบอกว่าสามารถสกัดขีปนาวุธคินซาลของรัสเซียได้ ทางรัสเซียก็ได้ออกมาแถลงบลัฟฝั่งยูเครนกลับว่า ระบบแพทริออตที่ยูเครนใช้อยู่ถูกทำลายไปแล้ว
เมื่อคืนที่ผ่านมา อิกอร์ โคนาเชนคอฟ โฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย ออกมาแถลงว่าในการโจมตีครั้งล่าสุด กองทัพรัสเซียสามารถสร้างความเสียหายต่อแพทริออตของยูเครนในกรุงเคียฟคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
หลังจากการแถลงของโฆษกกระทรวงกลาโหมรัสเซีย นักข่าวของซีเอ็นเอ็น (CNN) ได้สอบถามเรื่องนี้กับยูรี อีนัต โฆษกประจำกองทัพอากาศยูเครนซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบและดูแลระบบแพทริออตถึงคำกล่าวอ้างดังกล่าว โฆษกกองทัพอากาศยูเครนได้ตอบนักข่าวเพียงสั้นๆ
เราไม่สามารถให้ความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้และจะไม่แสดงความเห็นเกี่ยวกับแหล่งข่าวที่มาจากทางกองทัพรัสเซีย
อย่างไรก็ดี ซีเอ็นเอ็นรายงานโดยอ้างคำสัมภาษณ์ของเจ้าหน้าที่รายหนึ่งในกองทัพสหรัฐฯ ที่ระบุว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังประเมินความเสียหายที่อ้างว่าเกิดขึ้นกับระบบแพทริออต โดยทุกฝ่ายกำลังประเมินร่วมกันว่าจะสามารถซ่อมแซมระบบแพทริออตนี้ได้ในยูเครนเลยหรือไม่ หรือต้องส่งชิ้นส่วนที่เสียหายกลับไปซ่อมแซมที่สหรัฐฯ
ทั้งนี้ ถ้าอ้างอิงจากรายงานของซีเอ็นเอ็นจะหมายความว่า ระบบแพทริออตของยูเครนถูกโจมตีจริงตามที่กองทัพรัสเซียแถลง แต่ตัวระบบไม่ถูกทำลายทั้งหมด และได้รับความเสียหายบางส่วนเท่านั้น จนเจ้าหน้าที่ต้องเข้าประเมินเพื่อหาวิธีซ่อมแซม
หากระบบแพทริออตได้รับความเสียหายจากการโจมตีด้วยขีปนาวุธของรัสเซียจริง อาจสร้างความยากลำบากให้กับยูเครนในการรับมือการโจมตีทางอากาศในอนาคต เนื่องจากปัจจุบันยูเครนมีระบบแพทริออตเพียง 2 ระบบ คือ ระบบที่ได้รับมาจากสหรัฐฯ กับระบบที่ได้รับมาจากเยอรมนีและเนเธอร์แลนด์
ขณะที่การสู้รบในยูเครนยังคงเป็นไปอย่างดุเดือดและมีกระแสข่าวว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศตัวสำคัญของยูเครนอาจถูกโจมตีจนใช้การไม่ได้ เมื่อวานนี้บรรดาชาติพันธมิตรของยูเครนในยุโรป ก็ได้ประชุมร่วมกันเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาสงครามยูเครน
บรรดาผู้นำของชาติสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ได้เข้าร่วมการประชุมสภายุโรปในกรุงเรคยาวิก ประเทศไอซ์แลนด์ โดยการประชุมครั้งนี้ถือเป็นการประชุมใหญ่ครั้งที่ 4 ในรอบ 75 ปีนับตั้งแต่ก่อตั้งองค์กรแห่งนี้ สภายุโรป หรือ Council of Europe เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีงานหลักคือ กำกับดูแลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนในทวีปยุโรป แต่ในการประชุมรอบนี้วาระหลักอยู่ที่การสนับสนุนยูเครนเพื่อรับมือกับการโจมตีของรัสเซีย
ประเด็นที่หลายฝ่ายให้ความสนใจในการประชุมสภายุโรปครั้งนี้ คือ ประเด็นการสนับสนุนอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมให้ยูเครน
เมื่อวานนี้ ( 16 พ.ค.) ริชี ซูนัค นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรได้ให้สัมภาษณ์ว่า หนึ่งในวาระหลักของสหราชอาณาจักรในการประชุมสภายุโรปครั้งนี้คือ การย้ำให้ชาติยุโรปช่วยเหลือยูเครนด้านอาวุธเพื่อให้ยูเครนสามารถปกป้องตนเองได้
อาวุธที่นายกฯ รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรพูดถึงในครั้งนี้คือ เครื่องบินรบสัญชาติตะวันตก เนื่องจากหลังการประชุมสภายุโรปไม่นาน ทางการของสหราชอาณาจักรได้ออกแถลงการณ์ว่า นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรและนายกรัฐมนตรีเนเธอร์แลนด์ ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันให้จัดตั้ง “พันธมิตรนานาชาติ” หรือ “international coalition” เพื่อสนับสนุนเครื่องบินรบสัญชาติตะวันตกและภารกิจอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการฝึกให้แก่ยูเครน
หลายฝ่ายคาดว่าพันธมิตรนานาชาตินี้จะทำภารกิจต่างๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างความแข็งแกร่งให้นักบินและกองทัพอากาศยูเครน โดยสหราชอาณาจักรจะทำหน้าที่เป็นนายหน้าอำนวยความสะดวกช่วยประเทศพันธมิตรต่างๆ ขนส่งเครื่องบินรบไปให้ยูเครน
โดยเครื่องบินรบ F-16 ที่อาจถูกส่งไปยูเครนล็อตแรกในอนาคต อาจเป็นเครื่องบินรบที่ถูกปลดประจำการของกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์
ในขณะที่สภายุโรปกำลังประชุมเพื่อสนับสนุนยูเครนเพิ่มเติม ซึ่งชัดเจนแล้วว่าเป้าหมายในการสนับสนุนจะมีเรื่องอาวุธเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เมื่อวานนี้ อีกฝั่งหนึ่งที่นำโดยจีนและแอฟริกาก็ออกมาส่งสัญญาณว่า พร้อมจะเข้ามาเป็นตัวกลางยุติความขัดแย้งด้วยหลักสันติวิธี
หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศจีนได้ออกมาแถลงว่า นักการทูตระดับสูงของรัฐบาลได้เริ่มภารกิจเดินทางเยือนยูเครน รัสเซีย และประเทศอื่นๆ ในยุโรปแล้ว เป้าหมายของการเดินทางเยือนกลุ่มประเทศดังกล่าวคือ เพื่อหารือเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายูเครนด้วยสันติวิธี โดยการเดินทางเยือนของนักการทูตระดับสูงครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ต่อสายโทรหาผู้นำยูเครนเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา
ขณะที่ไซริล รามาโฟซา ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ได้ออกมาแถลงเมื่อวานนี้ว่าประธานาธิบดียูเครนกับประธานาธิบดีรัสเซียตอบรับคำตกลงที่จะพบกับกลุ่มผู้นำแอฟริกาเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนสันติภาพเพื่อยุติสงครามการรุกรานยูเครน
ทั้งนี้ ทางแอฟริกาใต้ยังไม่ได้เปิดเผยแผนสันติภาพดังกล่าวต่อสาธารณชน โดยแผนนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้นำแอฟริกาของเซเนกัล ยูกันดา อียิปต์ สาธารณรัฐคองโก และแซมเบีย ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ระบุว่ากระบวนการสร้างสันติภาพในยูเครนจะสำเร็จหรือไม่ ไม่มีใครสามารถตอบได้จนกว่าการเจรจาระหว่างแอฟริกา ยูเครน และรัสเซียจะมีขึ้นหลังจากนี้